การเตรียมตัว
- ใช้วิธีเขียนสิ่งที่ต้องพูด เพื่อจัดกระบวนการคิด การพูด
- ควรมีจุดให้ผู้ฟังจำไม่เยอะเกินไป เพราะถ้าเยอะมากจะจำไม่ได้ ขอเน้นๆ 1 หรือ 2 พอ ส่วนขอรองอาจมีได้อีก 2-3 ข้อ มากกวานี้จะจำยากแล้ว
- ประเมินและวิะเคราะห์ว่าผู้ฟังคือใคร เค้าต้องการทราบเรื่องอะไร ตรงนี้แหล่ะสำคัญที่สุดเพราะเป็นจุดเริ่มต้นทุกอย่าง
- คนฟังอยากได้อะไร ต้องตอบโจทย์เค้า ต้องปิดจุดกังวลของผู้ฟังด้วย และคาดการณ์คำถามที่จะถูกถามด้วย
- การซ้อมสำคัญมากๆๆ อันนี้อยากย้ำ
- การแต่งตัว, บุคลิกภาพ มีผลต่อความน่าเชื่อถือ ให้แต่ตัวตามความเหมาะสมในงานการนำเสนอ
- เวลาในการการนำเสนอ 10:80:10 open 10, เนื้อหา 80, ปิด 10
- ลำดับการนำเสนอ
- 1.กล่าวทักทาย สวัสดีค่ะ
- 2.แนะนำตัว ผมชื่อ ตำแหน่ง จากไหน (สร้างความน่าเชื่อถือ)
- 3.บทนำและผลลัพธ์ เรียบเรียง Why,How,What Consequence Benefit
- 4.หัวข้อที่จะนำเสนอ
- Why หลักการที่สำคัญ ที่ต้องคำนึงถึง, ความผิดพลาดที่เคยเกิด, อาจจะเกิด, ประสบการณ์, ผลวิจัย, ปัญหาในอดีต / ปัจจุบัน / อนาคต
- How ทางออก ทางแก้ไข ที่ช่วยให้แก้ปัญหาได้ เป็นไปตามหลักการ ตอบโจทย์ได้
- What บอกเรื่องที่จะนำเสนอ
- Consequence ระบุผลลัพธ์ ที่ผู้เสนอต้องการจากผู้ฟัง เช่น เพื่อนำเสนอให้ท่าน…….
- Benifit ผลประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับ ผลกระทบทางลบหากไม่ทำ
ตัวไฟล์ Presentation
- ต้องเน้นรูปภาพ อย่ามีอักษรเยอะ ไม่งั้นคนฟังจะเบื่อเร็วและไม่สนใจ
- คนจะอ่านสไลด์ในหน้านั้นเสร็จแล้วถึงตั้งใจฟัง สมาธิตอนสไลด์มาจะไปอยู่ที่การอ่านสไลด์ก่อน ฉะนั้นสไลด์ไม่ควรอักษรหรือเนื้อหาเยอะ
- 1 slide 1 ประเด็น , ไม่เกิน 5 บรรทัด
ภาษากาย
- การยืนให้ยืนเต็มสองขา ถ้ายืนเน้นขาเดียวจะดูตัวเอียงไม่สง่า
- อย่ายืนเกาะอะไร
- อย่ายืนล้วงกระเป๋า เพราะแสดงถึงความไม่มั่นใจ
- อย่ากอดอกเด็ดขาด
- อย่ายืนกุมไข่ เพราะจะไหล่ห่อ ให้มือข้างนึงจับเหนือข้อมือ จะดูดีกว่า
- สบตาผู้ฟัง หากไม่กล้ามอง ให้มองหน้าผากคนฟังแทน ต้องทำบ่อยๆด้วย ไม่งั้นคนดูจะเริ่มออกห่าง
- ถ้าตื่นเต้นก็ต้องยอมรับ(ในใจ)ว่าตื่นเต้น หายใจเข้าออกลึกๆ และให้ซ้อมมากๆๆ จะช่วยลดความผิดพลาดอื่นๆลง
- อย่ามอง slide present หรือ note บ่อยครั้งเกินไป
- ตำแหน่งการยืนให้ มองเห็นผู้ฟังเยอะที่สุด
- การยืนจะทรงพลังกว่าการนั่ง present การนั่งจะดูไม่สง่า
ระหว่างpresent
- เปิดตัวดีจะทำให้ผู้ฟังสนใจติดตามฟัง ต้องทำให้คนฟังรับรู้ภายใน 3 นาที เข้าใจปัญหาของผู้ฟัง หรือที่ผู้ฟังสนใจ, แสดงออกให้เกียรติ
- เริ่มต้นแนะนำตัว แล้วจากนั้นก็ควรมีช่วงที่บอกว่าอยากให้ผู้ฟังได้อะไรกลับไป
- คนพูดต้องมีความมั่นใจ ถ้าคนพูดไม่มั่นใจ คนฟังจะไม่เชื่อถือ อย่าทำตัวหงอเด็ดขาด
- ให้นำเสนอให้เป็นลักษณะ “การเล่าเรื่อง” ทำได้โดยการเตรียมข้อมูลให้มาก ต้องซ้อมพูดเยอะๆ
- กรณีขณะนำเสนอ มีคน “พูดซุบซิบ คุยกัน เสียงดัง” ให้หยุดนำเสนอแป๊ปนึง บรรยากาศจะเงียบ คนเม๊าจะหยุดเม๊า (แต่อย่ามองหน้าคนเม๊านะไม่งั้นมันจะดูไม่เป็นมิตร) แล้วเราค่อยนำเสนอต่อ
- ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ทุกสถานการณ์ ห้ามต่อล้อต่อเถียงกับผู้ฟังเด็ดขาด
- ดึงผู้ฟังให้มีส่วนร่วม เช่น “พี่ๆเคยได้ยิน….ไหมครับ” (ต้องค่อนข้างแน่ใจว่าส่วนใหญ่จะเคย)
- ให้โฟกัสจุดที่ต้องการให้คนฟังจะเห็นผลบวก, ลบ, กระทบกับเค้าบ่อยๆ เค้าจะสนใจ
- จากากรวิจัยพบว่า ผู้ฟังจะจดจ่อใน 10 นาทีแรก ถ้าทำได้ ให้เปลี่ยนจังหวะการพูด หรือมีเรื่องราวอะไรน่าสนใจแทรก, ให้ถามย่อย
- บอกว่าผู้ฟังควรทำอะไร แล้วจะได้อะไร มีผลอะไร
- อะไรสำคัญพูดบ่อยๆ เช่น เรื่อง “ลด cost” นำเสนอไป “นี่ไงครับ ช่วยลด cost”, “ตรงนี้ก็มีส่วนในการช่วยลด cost ตามจุดมุ่งหมายเหมือนกัน”
- ต้องการเน้นตรงไหนก็ต้องเน้นเสียงด้วย เช่น เสียงยาว หนักแน่น หรือเรียกความสนใจ
ช่วงผู้ฟังถามคำถาม
- ถ้าเนื้อหาเยอะ ให้รวมถามตอนจบ, หรือตอนจบบท (จะได้ไม่นานจนลืม)
- ถ้าเนื้อหาไม่มาก เวลาเยอะ ให้ถามระหว่างการ present ได้
ถามผู้รับฟัง
- อย่าถามคำถามยาก ไม่งั้นคนฟังจะ dead air จะเงิบกันหมด
- ตอนเปิดประเด็นด้วยคำถาม “คุณรู้ หรือไม่ครับ ว่า…” , “คุณรู้จักหรือไม่ครับว่า….” ต้องแน่ใจว่าคนในห้องที่ฟังเป็นมิตร
บุคลิกระหว่างการนำเสนอ
- ตำแหน่งที่ยืน และการกลับตัวไปมา ระวังมากไปจะดูไม่นิ่งและรำคาญตา
- อาจปรับเปลี่ยนตำแหน่งยืน เพื่อชี้ pointer
ตอนปิด
- ขอขอบคุณ……ที่มาฟังเรื่อง…….. และท้ายนี้…………… (อาจจะย้ำเรื่องประโยชน์ที่ได้จากการฟัง หรืออยากให้ผู้ฟังได้)