การทำ CPR (CardioPulmonary Resuscitation) และการใช้เครื่อง AED (Automated External Defibrillator)

การทำ CPR เวอร์ชั่นล่าสุดใช้หลักการ ABC (2015  )  แต่จริงๆ CAB ก็พอได้นะ

หลักการจำ

ให้รีบทำภายใน 3-5 นาที ยิ่งช้ายิ่งโอกาสรอดน้อยลง

ระยะเวลาในการอดชีวิต

15 วินาที เป็นลมหมดสติ

30 วินาที คลื่นไฟฟ้าสมองเริ่มผิดปกติ

เริ่มหยุดหายใจหรือหายใจเฮือก

30-60 วินาที รูม่านตาถ่ายขยาย

4-6 นาที สมองเริ่มเสียหาย

8-10 นาที สมองเริ่มเสียหายจนแก้ไขไม่ได้

โอกาสรอดชีวิต

22% ในโรงบาลและมีคนเห็น

4%นอกโรงพยาบาลมีคนเห็นและทำ CPR

30% ถ้าสามารถช็อคไฟฟ้าภายใน 3-5 นาที

ขั้นตอนการกู้ชีพ

1.ประเมินความรับรู้ตอบสนองของผู้ป่วย หากไม่รู้สึกตัว ไม่ห่ายใจ หรือหายใจเฮือก ให้รีบช่วย

2.โทรหา 1669 บอกมีคนหมดสติ และขอเครื่อง AED ด้วย

เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) เครื่อง เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ ใช้สำหรับปรับ ใช้รักษาภาวะหัวใจหยุดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งไม่สามารถแก้หัวใจหยุดเต้นได้ (ต้องใช้ปั๊มหัวใจ)  การปรับในทีนี้มีทั้งการปรับการเต้นของหัวใจที่เร็วเกินไปหรือผิดจังหวะ

3.เริ่มทำการ CPR โดยใช้แบบ ABC (หรือจะแบบ CAB ก็พอได้)  โดย

A คือ Airway กดหน้าผาก เชิดคางผู้ป่วยให้หงาย และเคลียร์สิ่งอุดตันทางปาก

B คือ Breathing  เม๊าทูเม๊าเป่าลม บีบจมูก ปากประกบปาก โดยเป่าปาก 2 ครั้ง ครั้งละมากกว่า 1 วินาที โดยสูดลมหายใจเพื่อเป่าใส่ปากผู้ป่วยแบบปกติ ไม่ต้องสูดให้เยอะ หากทำถูกหน้าอกจะขยายขึ้นถือว่าโอเค (ปัจจุบันแพทย์บอกกว่า หากไม่สะดวกกเป่าปากช่วยหายใจ ปั๊มหัวใจอย่างเดียวก็ยังดีมีประโยชน์มากอยู่)

 

C คือ Compressions ปั๊มหัวใจ

  ตำแหน่งการกด

ให้คลำ กระดูกชายโครงด้านใดด้านหนึ่งขึ้นไปค่ะ จะไปบรรจบ ส่วนล่างสุดของกระดูกสันอก คือ จุดที่ชายโครง 2 ข้าง มาพบกัน  โดยวางนิ้วชี้และนิ้วกลางตรงตำแหน่งนั้น และเอามือตำแหน่งถัดมาตรงกลาง

หรือตามรูปนี้ก็ตำแหน่งระหว่างหัวนม (แต่ในหนังสือไม่มีเล่มไหนบอกเลย สงสัยคงจะกลัวสับสน ผู้ชาย ผู้หญิง)  จากรูปนี้คือตำแหน่งสีฟ้าๆ ซึ่งตำแหน่งเดียวกับภาพบน

หากกดตำแหน่งผิดจะยิ่งอันตรายเพราะซี่โครงอาจจะหักไปทิ่มอวัยวะภายใน

ความเร็วในการปั๊ม ให้ร้องเพลง สุขกันเถอะเรา เศร้าไปทำไม หรือ ประมาณ 100-120 ครั้ง / นาที ปล่อยให้ให้การขยายของทรวงอกกลับคืนจนสุดด้วย

การกดให้กดลึกพอควรเลยนะ 5 -6 ซม. อย่าเกินกว่านี้  กดลึกเกินไปก็ไม่ใช่จะดี เพราะแม้จะวางมือถูกตำแหน่งแต่การกดลึกมากเกินไปอาจทำให้กระดูกสันอกหักได้เหมือนกัน ส่วนถ้ากดตื้นเกินไป ก็จะทำให้หัวใจบีบตัวน้อย เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

ตำแหน่งการนั่งกดนั้น ให้แขนค้ำอยู่บนตัวของผู้ป่วยแขนยืดตรง และใช้ลำตัวกดลง เพื่อจะไม่เมื่อย และใช้ช่วงสะโพกเป็นจุดหมุน

 

ให้กดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทำต่อเนื่อง 5 รอบ (2นาที)

หยุดกดหน้าอกเมื่อ

กดไป 30 ครั้งและกำลังช่วยหายใจ (เป่าปาก2ปู้ด)

เมื่อครบ 2 นาที ให้ประเมินผู้ป่วย

เมื่อใช้ AED ให้หยุดปั๊มชั่วคราว ทั้งตอนวิเคราะห์คลื่น, ตอนช็อต

การประเมินผู้ป่วย

ใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที  ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวให้หยุด cpr หากยังหายใจเฮือก หรือยังไม่หายใจ ให้ cpr ต่อ

การใช้เครื่อง AED

1.เปิดเครื่อง

2.แปะแผ่น

3.วิเคราะห์ คลื่นหัวใจ ผลจะบอกว่าให้ช็อค ให้ทำข้อ 4 หรือไม่ให้ช็อคก็ไม่ต้องทำข้อ4

4.ช็อคไฟฟ้า

ถ้าผู้ใหญ่ให้ติดตำแหน่งตามภาพ

 

ถ้าเป็นเด็กให้ตามนี้